เทศกาลและงานประเพณี

on . Posted in จังหวัดกระบี่

t01

เทศกาลงานประเพณีจังหวัดกระบี่

  • งานประเพณีสารทเดือนสิบ

    เป็นประเพณีสำคัญของชาวใต้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ขนมที่ขาดไม่ได้คือ ขนมลา ขนมเจาะหู ขนมพอง ขนมบ้า และขนมกงหรือไข่ปลา
  • งานประเพณีชักพระ

    เดิมจัดเป็นบุษบกพนมเรือสลักลวดลายสวยงาม มีการละเล่นเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงเรือ (เพลงชักพระ) ปัจจุบันได้นำยอดพนมเรือใส่รถแทนเรือ การละเล่นเพลงชักพระจึงหมดไป
  • งานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน

    จัดขึ้นตรงกับเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นงานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวของจังหวัด มีกิจกรรมรื่นเริงและการแสดงทางวัฒนธรรมมากมาย และการแข่งขันกีฬาทางน้ำหลายประเภท
  • ประเพณีลอยเรือชาวเล

    ที่เกาะลันตานับเป็นงานประเพณีเก่าแก่ของชาวเลที่หาดูได้ยาก งานนี้จัดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 และวันเพ็ญเดือน 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลในบริเวณเกาะลันตาและเกาะใกล้เคียงจะมาชุมนุมกันทำพิธีลอยเรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ณ ชายหาดใกล้ ๆ กับบ้านศาลาด่าน ในพิธีจะมีการร้องรำทำเพลง มีการร่ายรำรอบลำเรือด้วยจังหวะและทำนองเพลงรองเง็ง
  • เทศกาล ลานตา ลันตา

    ประเพณีและวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่แตกต่างกัน ได้รวมความเป็นหนึ่งเดียวใจเดียว ปลูกสร้างความรู้รักสามัคคี ให้ผู้คนแม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ ได้สะท้อนให้เราได้เห็นอย่างชัดเจน ในงานเทศกาลประจำปีเกาะลันตา “เทศกาลลานตา ลันตา”
    แม้จะมาจากต่างถิ่น กำเนิดมาจากต่างแดน นับถือและเคารพในสิ่งที่แตกต่าง แต่ในงานลานตา ลันตา เราจะได้พบแต่ความรื่นเริง รอยยิ้ม และความสนุกสนานของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในเกาะลันตา ด้วยเพราะงานนี้เป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านและผู้ประกอบการในเกาะลันตา ที่ต้องการให้มีงานเทศกาลที่สื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ ในงานลานตา ลันตา นอกจากการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้แล้ว ยังมีการแสดงบนเวที ซึ่งจะเป็นการแสดงของวงดนตรีสากล, การเริงระบำแบบภาคกลาง และการดนตรีเร็กเก้จากศิลปินคุณภาพ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจะได้ฟังแนวดนตรี่ผสานจากเครื่องดนตรีตะวันตกและเครื่องดนตรีตะวันออกจากวงอัสลี มาลา ในส่วนอาหารและเครื่องดื่มสำหรับคนที่เข้ามาเที่ยวในงาน จะมีการออกร้านจากร้านค้า บาร์ และโรมแรมชื่อดังในเกาะ ในราคาถูก ซึ่งจะมีการจัดร้านให้สอดคล้องกับแนวคิดของงานคือ เป็นงานเพื่อสื่อถึงวัฒนธรรมและประเพณีของคนเกาะลันตา และที่ขาดไม่ได้และเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆเป็นอย่างมากคือ การแสดงละครใบ้, ละคนหุ่น, สอนวิชาวาดเขียน ให้เด็กๆในงานได้ชม ตลอดตามถนนทางเดิน อันได้ประดับประดาไปด้วยโคมไฟจีนหลากสีตามแนวถนนสายนี้

การละเล่นพื้นบ้าน

  • ลิเกป่า

    เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ดัดแปลงมาจากลิเกสิบสองภาษา เริ่มต้นจะเล่นเรื่องราวของแขกแดงว่ามาจากเมืองลักกะตา (กัลกัตตา) มาค้าขายบนฝั่งทะเลตะวันตก แล้วมาได้ภรรยาเป็นคนพื้นเมืองชื่อ “ยายี” หรือ “ยาหยี” และพากลับบ้านเมือง จากนั้นจะแสดงเรื่องอื่นต่อไป ลิเกป่าเป็นการแสดงที่ประสานวัฒนธรรมหลากหลายเข้าด้วยกัน อาทิ ดนตรีจะใช้รำมะนา ทับโหม่ง กลอง ฉิ่ง บทกลอนจะมีการประสมทำนองมโนราห์กับเพลงบุรันยาวา ศิลปินลิเกป่าในกระบี่มีจำนวนมาก เพราะนิยมเล่นกันมาช้านาน และน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนบริเวณนี้ ปัจจุบันลิเกป่ายังมีหลายคณะ เช่นนายตรึก ปลอดฤทธิ์ ซึ่งได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม
  • หนังตะลุง

    แสดงให้เห็นการผสมผสานกับวัฒนธรรมอินเดีย ในจังหวัดกระบี่ มีศิลปินหนังตะลุงหลายคณะ
  • มโนราห์

    การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดทางภาคใต้ที่ขึ้นชื่อที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
  • รองเง็งและเพลงตันหยง

    ซึ่งได้รับอิทธิพลจากมลายู ซึ่งดัดแปลงมาจากโปรตุเกสอีกทอดหนึ่ง เดิมเพลงรองเง็งนิยมแสดงในบ้านขุนนาง ภายหลังชาวบ้านนำมาเล่นและพัฒนาดัดแปลงมาเป็นเนื้อร้องภาษาไทย เรียกว่าเพลงตันหยง

 

t02
t03
t04
t05
t06
t07
t08
t09
t10
t11