พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (พ่อท่านแช่ม)...จังหวัดภูเก็ต

on . Posted in อันดามันน่ารู้

lc01

พ่อท่านแช่ม ชาตะเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ เป็นบุตรในชาวบ้านตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุ จังหวัดพังงา พ่อแม่ส่งให้มาอยู่ที่วัดฉลอง เป็นศิษย์ของพ่อท่านเฒ่าตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวชเป็นพระภิกษุได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลองนี้ พ่อท่านแช่มได้ศึกษาวิปัสสนาธุระจากพ่อท่านเฒ่าจนเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระเป็นอย่างสูง ความมีชื่อเสียงของพ่อท่านแช่มปรากฏชัดในคราวที่ท่านเป็นหัวหน้าปราบอั้งยี่
ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่นในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงได้ช่องสุมผู้คนก่อตั้งเป็นคณะขึ้นชื่อว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเป็นของพวกตนทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอังยี่ถืออาวุธไล่ ยิง ล้มตายเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สินได้ ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือนและหมู่บ้านซึ่งพดวกอั้งยี่เผาได้ต่อมามีชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั้งบัดนี้
พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว เพราะโพกผ้าประเจียดที่ศีรษะไว้เป็นสัญลักษณ์ และเมื่อพดวกอั้งยี่ยกพดวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกันพวกอั้งยี่จึงไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์พ่อท่านแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์จะปฏิสันถารกับพ่อท่านแช่มด้วยพระองค์เอง เมื่อพ่อท่านแช่มและคณะเดินทางไปถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ให้พ่อท่านแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดที่บรรพชิตจักพึงในสมันนั้น
รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นได้พากันไปตามกำนันนายบ้านมาเพื่อจะติดตามพวกโจร พ่อท่านแช่มห้ามมิให้ตามไป ต่อมาครู่หนึ่งพวกโจรกลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมาพร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วย การปราบอั้งยี่ในครั้งนั้น เมื่อพวกอั้งยี่แพ้ศึกแล้วกลับมาเลื่อมใสในความเคารพนับถือต่อท่านเป็นอย่างมาก แม้แต่ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอื่นเกิดความเคารพเลื่อมใสศรัทธาด้วย และถ้าเกิดเหตุอาเพศต่าง ๆ ในครัวเรือนต่างก็บนบานให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าให้ชาวเรือพวกหนึ่งพายเรืออกไปหาปลาในทะเลถูกคลื่นและพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่ม ต่างบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้คลื่นลมสงบแต่คลื่นลมกลับรุนแรงขึ้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงพ่อท่านแช่มได้ ขอให้ท่านช่วยบันดาลให้คลื่นลมสงบเถิดรอดตายให้กลับถึงบ้านจะปิดทองที่ตัวท่านแม้แต่ไม้เท้าของท่าน ซึ่งท่านถือเป็นประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังมีดังนี้ เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่งหนึ่งเป็นคนพูดอะไรทะลึ่ง จึงบนพ่อท่านแช่มว่าขอให้การปวดท้องหายเถิด ถ้าหายแล้วจะนำทองไปติดที่ของลับของพ่อท่านแช่ม อาการปวดท้องก็หายไป เด้กหญิงคนนั้นเอหายแล้วไม่สนใจถือว่าพูดเป็นเล่นสนุก ๆ
พ่อท่านแช่มมรณภาพในเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ เมื่อมรณภาพบรรดาศิษย์ได้ตรวจหาทรัพย์สินของพ่อท่านแช่มปรากฏว่าพ่อท่านแช่มมีเงินเหลือเพียง ๕๐ เหรียญเท่านั้นความทราบถึงชาวปังและจังหวัดอื่นในมาเลเซีย ต่างได้นำเงินและขนเอาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น มีข้าวสาร เป็นต้น มาช่วยเหลือหลายสำเภา งานศพของพ่อท่านแช่มจัดเป็นงานใหญ่ที่สุดในจั้งหวัดภูเก็ต และมโหฬารที่สุดในภาคใต้ บารมีของพ่อท่านแช่มได้มีมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ที่มา:กรมศิลปากร. (2554). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.