เมืองตะโกลา(ตะกั่วป่า)...จังหวัดพังงา

on . Posted in อันดามันน่ารู้

Takola 5

เมืองตะกั่วป่า ชุมชนโบราณในตะกั่วป่า หมายถึง ชุมชนในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ลุ่มแม่น้ำตะกั่วป่า เริ่มจากแหล่งโบราณคดีใกล้ต้นแม่น้ำตะกั่วป่าในเขตอำเภอกะปง ไปจนถึงแหล่งโบราณคดีปากแม่น้ำตะกั่วป่าเขตอำเภอตะกั่วป่า และเขตอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เขตชุมชนโบราณตะกั่วป่า สันนิฐานว่าอยู่ตรงบริเวณ เจตอำเภอกะปง เขตอำเภอคุระบุรี และเขตอำเภอตะกั่วป่ารวมกัน เรียกว่า ตะโกลา (ชื่อเมืองตะกั่วป่าในสมัยโบราณ) แหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติสาสตร์ที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนโบราณตะกั่วป่า คือแหล่งโบราณคดีเขาเวียง (เขาพระนารายณ์) แหล่งโบราณคดีควนพระเหนอ แหล่งโบราณคดีเหมืองทอง แหล่งโบราณคดีสำคัญทั้งสามแหล่งตั้งอยู่ในชุมชนตะกั่วป่า มีสภาพทางภูมิศาสตร์คือ ตั้งอยู่ในแนวลำน้ำตะกั่วป่า โดยมีแหล่งโบราณคดีเขาเวียง (เขาพระนารายณ์หรือที่บ้านพระนารายณ์
แม่น้ำตะกั่วป่าเป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่ง ความยาวประมาณ 45 กิโลเมตรเกิดจากคลองใหญ่สองคลองมารวมกัน คือ คลองเหลและคลองรมณีย์ บริเวณลำน้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า แหล่งโบราณคดีช้างเชื่อ ส่วนคลองรมณีย์เกิดจากคลองเล็ก ๆ สองคลอง คือ คลองหินลับและคลองหลังพม่า นักวิชาการที่ศึกษาแหล่งโบราณคดีชุมชนโบราณตะกั่วป่า (พ.ศ.2445-2527) กล่าวว่า ชุมชนโบราณตะกั่วป่าตั้งอยู่ในทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเป็นเมืองท่าสำหรับค้าขายกับชาวต่างชาติที่มีอารยธรรมรุ่งเรือง คือ อินเดีย จีน อาหรับ ไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 10 โดยก่อนหน้านี้ชนพื้นเมืองซึ่งพัฒนาการจากชุมชน (เขตอำเภอกะปง) ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปตามป่าเขาสำเนาไพรในเทือกเขาช้างเชื่อและเทือกเขาพ่อตา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-14 ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ชุมชนโบราณตะกั่วป่าได้พัฒนาชุมชนเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางฝั่งทะเลอันดามัน เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ได้ผสมผสานวัฒนธรรมแบบอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมพื้นเมอง มีการสร้างศาสนสถานและรูปเคารพตามแบบอย่างศาสนาฮินดู หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าชุมชนตะกั่วป่าเป็นเมืองท่าสำคัญ คือ จดหมายเหตุของชาวอาหรับ หลักฐานจากแผนที่ประวัติศาสตร์ของเฮมมอนด์ ปรากฏหลักฐานเรื่อง ราชอาณาจักรทะเลใต้ และตามศิลาจารึกของเมืองตันชอร์ พ.ศ. 1820-1860 พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย มีมีกำลังเข้มแข็งได้ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ จนถึงแหลมมลายู ชื่อเมืองตะโกลาหายไปในระยะนั้นปรากฏชื่อเมืองตะกั่วป่าขึ้นแทน
ปรากฏในหนังสือมิลินทปัญหาที่แต่งขึ้นในราวปี พ.ศ. 500 ว่าอินเดียเรียกชุมชนใหญ่นี้ว่า เมืองตะโกลา ซึ่งต่อมาได้มีชาวจีน อาหรับ เปอร์เซีย เข้ามาติดต่อทำการค้าขายด้วย เมืองตะโกลาจึงเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายที่ชนชาติต่าง ๆ ในยุคนั้นรู้จักดี โดยเฉพาะชนชาติอินเดียที่มาถึงและตั้งหลักแหล่ง ที่บ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ. 2456 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายศาลากลางจังหวัดตะกั่วป่า ไปตั้งที่บ้านย่านขาว (ตำบลย่านยาวสมัยนั้น) ปัจจุบันได้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2475 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้มีการยุบจังหวัดตะกั่วป่าลงมาเป็นอำเภอตลาดใหญ่ ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดพังงา สาเหตุเพราะประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจโลกตกต่ำ และต่อมาเปลี่ยนจากอำเภอตลาดใหญ่เป็นอำเภอตะกั่วป่า(โดยใช้ศาลาการจังหวัดเป็นศาลาที่ว่าการ
ที่มา: กรมศิลปากร. (2554). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

 

Takola 1
Takola 2
Takola 3
Takola 4