การแข่งขันเรือหัวโทง...จังหวัดกระบี่

on . Posted in อันดามันน่ารู้

Boat race 1

เรือที่ออกแบบและต่อกันเองในท้องถิ่น ขนาดตั้งแต่ 7 – 8 เมตรขึ้นไปจนถึง 10 กว่าเมตร ติดเครื่องท้ายเรือ หมู่ชาวบ้านเรียกกันว่า เรือหัวโทง หัวเรือโทงเทงเวลาแล่น หัวเรือเชิดชี้ฟ้าโดดเด่นตามชื่อนิยมใช้กันมากในฝั่งทะเลอันดามันจากประสบการณ์ของไทยทัวร์เอง พบมากที่สุด ใน จ.กระบี่ ตั้งแต่ ตัวเมืองท่าเรือเจ้าฟ้า อ่าวนาง ไร่เลย เกาะพีพี อ่าวนพรัตน์ธารา อ่าวพังงา หมู่เกาะต่างๆ
อดีตเรือหัวโทงได้ติดตั้งเป็นเรือหางยาว ใช้ประกอบการเป็นเรือหาปลาตามชายฝั่งทะเลในแถบจังหวัดกระบี่ ซึ่งต่อมาจังหวัดกระบี่ได้ประกาศเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงได้พัฒนาเรือดังกล่าวมาเป็นเรือโดยสารบรรทุกนักท่องเที่ยวไปชมความงามตามธรรมชาติของชายฝั่งทะเลกระบี่ จากนั้นชมรมเกาะพีพีได้มีการจัดแข่งขัน ภายในกลุ่มชมรมยังไม่เป็นที่แพร่หลายต่อมาสำนักงานหอการค้าจังหวัดกระบี่และชมรมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดกระบี่ได้เห็นความสำคัญของการแข่งขันเรือชนิดนี้ จึงได้พัฒนามาเป็นเรือแข่งขันตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบันนี้ จำนานผู้เล่น เรือหางโทง ฝีพายต่อ 1 ทีม ซึ่งมีจำนวนผู้เล่น 12 คน แต่สามารถเข้าทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 10 คน ที่เหลือเป็นตัวสำรอง อุปกรณ์ หัวเรือโทงขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 8 เมตร ตัวกงเรือไม่น้อยกว่า 17 – 19 กง กว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ไม้พายจำนวน 10 อัน เท่ากับจำนวนคนที่เข้าแข่งขัน เส้นปล่อยตัว (เริ่มต้น) เส้นชัย (ใช้เชือกป่านประมาณ 50 เมตรขึ้นไป โดยประมาณ) นกหวีด ลำโพงสนาม (โทรโซ่ง) วิทยุสมัครเล่น วิธีเล่น / กติกา ถ้าหากมีเรือที่ร่วมแข่งขันจำนวนมาก จะต้องมีรอบคัดเลือก โดยทำการแข่งขันรอบละไม่เกิน 2 ลำ โดยมีเรือคณะกรรมการอยู่ระหว่างกลางเรือแข่งทั้ง 2 ลำ เมือสัญญาณเริ่มขึ้นเรือดังกล่าว ก็เร่งฝีพายเพื่อเอาชนะในการแข่งขัน การตัดสินเรือลำใดถึงเส้นชัยโดยให้หัวโทงตรงแนวเส้นก่อนจะเป็นผู้ชนะ
การแข่งขันเรือหัวโทง เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่อีกด้วย
ที่มา:กรมศิลปากร. (2554). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

 

Boat race 2
Boat race 3
Boat race 4
Boat race 5