การแทงหยวก...จังหวัดกระบี่

on . Posted in อันดามันน่ารู้

Decorative Arts 3

การแทงหยวก คือ การฉลุลวดลายลงบนกาบกล้วยแล้วนำไปประดับตกแต่ง เช่น การแต่งโลงศพ การตกแต่งบาบกเบญจารดน้ำผู้ใหญ่ การตกแต่งเมรุเผาศพ เป็นต้น
การแทงหยวกเป็นงานประณีตที่ต้องอาศัยช่างฝีมือและความชำนาญในการทำเป็นงานที่ต้องใช้สอยในเวลาอันจำกัด การแทงหยวกมีมาแต่เมื่อใดไม่สามารถที่จะสืบประวัติได้แต่มีการทำสืบต่อ ๆ กันมาเท่านั้นเองอุปกรณ์ในการแทงหยวก ได้แก้ กล้วย มักใช้กาบกล้วยที่ไม่เปราะง่าย เช่น กล้วยตานี มีด 2 คมเล่มเล็ก ๆ หลายขนาด ไม้กลัด ส่วนลายที่ฉลุจะใช้ลายไทยทั่วไปมุ่งความสามารถและความเหมาะสมที่จะใช้ลายอะไรประดับส่วนใด ความสวยงามจะปรากฏเมื่อมีการเอาลายต่าง ๆ มาประดับจนเรียบร้อยขั้นตอนแรกในการแทงหยวกจะต้องเลือกต้นกล้วยตานีหรือต้นกล้วยน้ำว้าต้นสาวๆ คือ ต้นกล้วยที่ยังไม่ออกผล ถ้าออกปลี ออกลูกแล้วจะใช้ไม่ได้เพราะกาบกล้วยจะกรอบเปราะหักง่าย แต่ถ้าเป็นต้นกล้วยที่ยังสาวๆ ไม่มีลูกกาบกล้วยจะอ่อนเหนียวไม่หักง่าย ต้องเลือกต้นใหญ่พอสมควร ร้านม้าเผาศพทั่วไปจะใช้ประมาณ 10 ต้น ต่อร้านม้า 1 ครั้งเมื่อได้ต้นกล้วยมา ก็จะลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบๆ จนถึงแกนของลำต้นให้เหลือประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 3นิ้ว เอาไว้ทำฐานล่างเมื่อลอกกาบกล้วยออกมาแล้วก็ต้องคัดขนาด คือกาบใหญ่ๆ รอบนอกก็เอาไว้สำหรับแทงลายต่าง ๆ ส่วนกาบเล็ก ๆ ก็ใช้ทำอกกลางเมื่อทำลายต่างๆ ได้เพียงพอตามความ ต้องการเเล้วถึงขั้นตอนการประกอบหยวก เพื่อทำเป็นเสาล่าง พรึง เสาบน รัดเกล้าเเละฐานล่าง โดยใช้ตอกผิวไม้ไผ่เย็บให้ติดกันเเล้วติดเเต่งมุมให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยมีการถ่ายทอดวิชาช่างประเภทนี้มากนักเพราะขาด ผู้สนใจและนิยมใช้ ประกอบกับช่างเเทงหยวกต้องไม่กลัวผีเพราะต้องทำตอนกลางคืน ส่วนใหญ่จะทำที่วัด ล่วงหน้าก่อน 1 คืน ต้องทำกลางคืนและติดตั้งเช้า หยวกกล้วยจะไม่เหี่ยวเเห้ง ยังคงความสวยงามอยู่ตลอดเวลา
ในจังหวัดกระบี่มีการแทงหยวกอยู่บ้างทางตำบลกระบี่น้อย ตำบลโคกยาง อำเภอเมืองกระบี่ นอกจากนี้มีในท้องที่อำเภอเขาพนม และอำเภอคลองท่อม อำเภออ่าวลึก ช่างแทงหยวกก็มักจะเป็นช่างกลุ่มเดียวกันกับช่างทำจาดนั่นเอง
ที่มา:กรมศิลปากร. (2554). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

 

Decorative Arts 1
Decorative Arts 2
Decorative Arts 4
Decorative Arts 5