ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย...จังหวัดตรัง

on . Posted in อันดามันน่ารู้

rubber tree 1

เมืองตรังเป็นถิ่นกำเนิดยางพารา หลักฐานคือต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทยที่อำเภอกันตัง ชาวตรังจึงเห็นว่ายางพาราเป็นต้นไม้คู่เมือง ยางพาราเป็นต้นไม้ที่มีมากที่สุดของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2541 จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกยางพารึง 1,173,468 ไร่ ซึ่งนับเป็นร้อยละ 71.46 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในจังหวัด
ยางพารามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า HeveaBrasiliensis(Will. Ex AJussMuell .Arg.)มีต้นกำเนิดมาจากแถบลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีผู้นำมาปลูกที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย หรือชวาและมลายูในสมัยโน้น สมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง มีราชการและการค้าติดต่อกับชวาและมลายูเป็นประจำ ได้เห็นการปลูกยางพาราซึ่งจะทำรายได้งามแก่ชาวบ้าน จึงคิดนำยางพาราเข้ามาปลูกในเมืองตรัง แต่พวกฝรั่งเจ้าของสวนหวงมาก ทำให้หาลู่ทางนำเข้าได้ยาก
ผู้ที่มีส่วนสำคัญคนหนึ่งที่ช่วยให้ยางพาราเป็นพืชแกลักษณ์ของเมืองตรังได้แก่ พะสถลสถานพิทักษ์ (คออยู่เกียด ณ ระนอง) หลานชายพระยารัษฎาฯ ซึ่งรับราชการอยู่เมืองตรังขณะนั้น พระสถลฯ ช่วยนำยางพาราเข้ามาในเมืองตรังได้สำเร็จและปลูกที่บ้านพักเป็นสวยยางรุ่นแรกของประเทศไทย เมื่อได้พันธุ์ยางพารามาแล้ว พระยารัษฎาฯ ก็ส่งเสริมการปลูกยางพารา สร้างสวนยางตัวอย่างขึ้นที่ตำบลช่องในนามของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เชิญชวนเจ้านายและข้าราชการให้มาทำสวนยางที่ตรังมีสองบรรดาข้าราชการที่บ้านบางหมาก และตูลูลู้ด และสวนของพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ที่ตำบลกันตังใต้ พวกนายอำเภอกำนัน ผู้ใหญ่บ้านต้องไปเรียนวิธีปลูกยางพาราและทำยางที่สวยยางตัวอย่าง มีการแจกเมล็ดพันธุ์ให้ชาวบ้าน รุ่นแรก ๆ ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง นำเมล็ดพันธุ์ไปต้มเสียก็มี ส่วนวิธีปลูกบางทีก็ใช้ลูกยางเป็นลูกกระสุนธนูยิงไปตกไกล ๆ ให้งอกขึ้นมาตามธรรมชาติ เป็นป่ายางที่อยู่กับพืชอื่น ๆ ที่ใช้ได้สารพัดประโยชน์
ผลของการปลูกยางพารามาประจักษ์ชัดแก่ชาวตรังในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ 3 – 4 ปี ตอนนั้นราคายางสูงมาก สูงสุดถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งนับสูงมาก สูงสุดถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับยุคสมัยที่ค่าเงินยังไม่ตกต่ำเช่นปัจจุบัน จากยางพาราที่สูงขึ้นในยุคนั้นทำให้ชาวตรังหันมาทำสวนยางพารากันมากขึ้น จนบางครั้งทำให้มีการรุกล้ำเข้าไปในป่าเขาจนแม้แต่ป่าสงวนก็ไม่เว้น ตลอดจน 2 ข้างถนนไปจนถึงเขาควนต่าง ๆ ของเมืองตรังจนปลุกคุมไปด้วยสวนยางไปตลอด สมกับที่เป็นไม้เอกลักษณ์ของเมืองตรัง
ปัจจุบันต้นยางพาราต้นหนึ่งในสวนแรกอยู่ที่ริมถนนตรังภูมิ คือหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะทุกคนถือว่าเป็น ยาวพาราต้นแรกของประเทศไทย
ที่มา:กรมศิลปากร. (2554). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

 

rubber tree 4
rubber tree 2
rubber tree 3
rubber teer 5