เพลงและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้

on . Posted in หนังสือทั่วไป

23

เลขหนังสือ 394.3 ส27พ.
ชื่อผู้แต่ง สาวิตร พงศ์วัชร์.
ชื่อเรื่อง เพลงและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2542. เมืองที่พิมพ์ ภูเก็ต. สำนักพิมพ์ สถาบันราชภัฏภูเก็ต.
สาระสังเขป สาระสำคัญของหนังสือเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน มีรายละเอียด 7 บท ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของเพลงและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้, เพลงพื้นเมืองภาคใต้, การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้กับประเพณีท้องถิ่น, การละเล่นพื้นบ้านฝั่งทะเลอันดามัน, การละเล่นพื้นบ้านไทยมุสลิมภาคใต้ตอนล่าง, บทบาทการละเล่นพื้นบ้านที่มีอิทธิพลต่อสังคมชาวใต้และการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน, ภูมิหลังของอาชีพพื้นบ้านที่นำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์เพื่องานนาฎศิลป์ภาคใต้
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

เลียบ ชนะศึก ขุมทรัพย์วัฒนธรรมถลาง

on . Posted in หนังสือทั่วไป

22

เลขหนังสือ 923 ล16.
ชื่อผู้แต่ง กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต.
ชื่อเรื่อง เลียบ ชนะศึก ขุมทรัพย์วัฒนธรรมถลาง.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2534. เมืองที่พิมพ์ ภูเก็ต. สำนักพิมพ์ หอวัฒนธรรมภูเก็ต.
สาระสังเขป เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้พูดถึง คุณเลียบ ชนะศึก ผู้เสียสละและสร้างผลงานทางด้านวัฒนธรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนะรรมแห่งชาติ ได้ยกย่องเชิดชูเกียรติ ในปี 2532 ให้คุณเลียบ ชนะศึก เป็นบุคคลที่ 4 ของจังหวัดภูเก็ตที่ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนะรรม ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต วิทยาลัยครู จึงได้รวบรวมผลงานจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม เลียบ ชนะศึก ขุมทรัพย์วัฒนธรรมถลางขึ้น
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ประเพณีท้องถิ่นภาคใต้

on . Posted in หนังสือทั่วไป

21

เลขหนังสือ 390.09593 ส16ป
ชื่อผู้แต่ง สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์.
ชื่อเรื่อง ประเพณีท้องถิ่นภาคใต้.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2548. เมืองที่พิมพ์ กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.
สาระสังเขป ประเพณีท้องถิ่นภาคใต้ เป็นหนังสือที่ผู้เขียนมุ่งหวังจะรวบรวมประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ของคนที่อยู่ในดินแดนที่ได้ชื่อว่า ปักษ์ใต้ หรือ ภาคใต้ ไว้ให้มากที่สุด โดยพยายามจัดแบ่งประเพณีที่คนภาคใต้ยึดถือปฏิบัติเหมือนกับคนในภาคอื่นๆ ของประเทศไทย และประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนและประเพณีของชาวไทยมุสลิม เพื่อบอกถึงความเป็น ชาวใต้ ด้วย ประเพณี ก่อนที่ประเพณีบางอย่างจะสูญหายไปหรือเปลี่ยนแปลงไป และก่อนที่ เด็กไทยยุคใหม่จะสูญเสียความเป็นไทย ไปเพราะเขารู้เท่าไม่ถึงการณ์ เขาไม่รู้ที่มาที่ไปของประเพณี เขาทำตามประเพณีโดยไม่มีเหตุผล ทำให้ประเพณีอันดีงามผิดเพี้ยนไปจากความน่าจะเป็น
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต