วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต

on . Posted in หนังสือทั่วไป

20

เลขหนังสือ 390.09593 ฤ14ว.
ชื่อผู้แต่ง ฤดี ภูมิภูถาวร.
ชื่อเรื่อง วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2553. เมืองที่พิมพ์ ภูเก็ต. สำนักพิมพ์ สมาคมเพอรานากัน.
สาระสังเขป หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มคนที่เป็นลูกคนจีน ซึ่งถือว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่และมีบทบาททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองในภูเก็ตมากกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ จากกิจการเหมืองแร่ดีบุก การค้าทางทะเล ตลอดจนงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะ ความงดงามเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าภูเก็ต วิถีชีวิตที่ผูกพันกับค่านิยมความเชื่อ การแต่งกาย ขนมที่เป็นเอกลักษ์ด้านความเชื่อของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

แลภูเก็ตในยุคอุตสาหกรรมไร้ปล่องควัน

on . Posted in หนังสือทั่วไป

19

เลขหนังสือ 333.72 ส42ล.
ชื่อผู้แต่ง สุจารี ไชยบุญ.
ชื่อเรื่อง แลภูเก็ตในยุคอุตสาหกรรมไร้ปล่องควัน.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2553. เมืองที่พิมพ์ ภูเก็ต. สำนักพิมพ์ องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน.
สาระสังเขป เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้พูดถึง ภูเก็ต เมืองที่ทุกคนต่างรู้จักในนามเมืองแห่งการท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงามร่ำรวยทรัพยากรทางบกและชายฝั่ง นักท่องเที่ยวต่างเชื้อชาติที่หลากหลายทุกคนล้วนมีปลายทางเดียวกัน คือ ภูเก็ต ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวเท่านั้นที่เดินทางมาที่นี้ ยังมีแรงงานอพยพทั้งคนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มนักธุรกิจที่แสวงหาผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่กลับมีจำนวนไม่มากนักที่จะกล้าพูดถึงผลกระทบที่ได้รับจากอุตสาหกรรมไร้ปล่องควันเฉกเช่นการท่องเที่ยวในยุคของทุนนิยมข้ามชาติ
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

โบราณคดีและประวัติศาสตร์ กระบี่ พังงา ภูเก็ต

on . Posted in หนังสือทั่วไป

18

เลขหนังสือ 959.3 พ97บ.
ชื่อผู้แต่ง ไพโรจน์ เสรีรักษ์.
ชื่อเรื่อง โบราณคดีและประวัติศาสตร์ กระบี่ พังงา ภูเก็ต.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2547. เมืองที่พิมพ์ กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ -.
สาระสังเขป เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้พูดถึง ทุกจังหวัดทางฝั่งอันดามันล้วนมีประวัติที่ควรค่าแก่ความสนใจ แต่เห็นว่าจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต จำเป็นต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกปีละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน ผู้เกี่ยวข้องย่อมมีความต้องการที่จะรู้ความเป็นมาทั้งในฐานะนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ นักศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจทางการท่องเที่ยว ตลอดจนผู้สนใจใฝ่รู้ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต