๑๐๐ มรดก ในหอวัฒนธรรมภาคใต้

on . Posted in หนังสือทั่วไป

09

เลขหนังสือ 390.9593 น17ห.
ชื่อผู้แต่ง นูรีซา สะแปอิง.
ชื่อเรื่อง ๑๐๐ มรดก ในหอวัฒนธรรมภาคใต้.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2552. เมืองที่พิมพ์ กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สาระสังเขป หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกัน หรือในบางท้องถิ่นอาจจะคล้ายคลึงกัน เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีการติดต่อกับสังคมภายนอก ต่างกลุ่ม ต่างชาติพันธุ์ ต่างศาสนา วัฒนธรรมย่อมมีการรับและการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน จึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนะรรม สำหรับประเทศไทยได้แบ่งภูมิภาคตามลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมเป็น 4 ภาคประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในการศึกษาวัฒนธรรมจึงย่อมอาศัยการแบ่งขอบเขตการศึกษาตามแนวภูมิภาคและพื้นที่ก่อน ภาคใต้ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีสภาพมิลักษณ์เสมือนสะพาน ทำหน้าที่ส่งผ่าน ถ่ายเท อพยพ เคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คลองนาทับ...ชีวิตกับสายน้ำ

on . Posted in หนังสือทั่วไป

10

เลขหนังสือ 333.916213 น47ค.
ชื่อผู้แต่ง นูรีซา สะแปอิง.
ชื่อเรื่อง คลองนาทับ ชีวิตกับสายน้ำ.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2549. เมืองที่พิมพ์ สงขลา. สำนักพิมพ์ โครงการการจัดการทรัพยากรชายฝั่งภาคใต้.
สาระสังเขป หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาการใช้ประโยชน์จากคลองนาทับ ตำบลนาทับ ตำบลจะโหนง ตำบลป่าชิง ตำบลคลองเปียะ ตำบลตลิ่งชัน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงการใช้ประโยชน์ของกลุ่มชาวประมงที่อาศัยในบริเวณฝั่งคลองตลอดทั้งสายคลอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในด้านสังคม เศราฐกิจ ที่เกี่ยวกับผู้ที่ใช้ประโยชน์จากคลองนาทับ ในด้านต่างๆ คือ ด้านการทำประมง ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ว่าผู้ที่ใช้ประโยชน์นั้นมีการจัดการหรือมีรูปแบบการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างไร การศึกษาจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์ในแต่ละสายอาชีพของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากคลองนาทับ เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้ทราบก่อให้เกิดความหวงแหน ได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ในทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา : ชีวิตที่อยู่ในท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

on . Posted in หนังสือทั่วไป

11

เลขหนังสือ 333.9163 พ914ต.
ชื่อผู้แต่ง นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์.
ชื่อเรื่อง คนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา : ชีวิตที่อยู่ในท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ 2545. เมืองที่พิมพ์ กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ โครงการการจัดการทรัพยากรชายฝั่งภาคใต้.
สาระสังเขป หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มคนรอบลุ่มทะเลสาบที่ปนะกอบอาชีพทำนา ทำการเกษตรอื่นๆ ล่มสลายทั้งอาชีพและชุมชนโดยการทะลุทะลวงเข้ามาของอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งทำมาหากิน จับสัวต์น้ำไปประกอบอาหาร ไปขาย ไปแบ่งปันกัน ต่างสะดุดหยุดลง ความแตกแยกความขัดแย้งในการประกอบอาชีพ (นากุ้งกับนาข้าว) ชาวประมงต่างเครื่องมือ เกิดขึ้นถี่ยิบแล้วเริ่มซาลง โดยฝ่ายชนะคือผู้ที่แข็งแรงกว่า แต่ทุกชีวิตทั้งฝ่ายที่ชนะและผ่ายแพ้ ต่างก็ตกอยู่ในชะตากรรมที่ไม่แตกต่างกัน คือต่างตกอยู่ท่ามกลางกระแสของความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
หมายเหตุ สนใจติดต่อ งานบริการสารสนเทศอันดามัน ชั้น5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต